11 วิธีจัดท่านอน ช่วยลดอาการปวดเมื่อย

11 วิธีจัดท่านอน ช่วยลดอาการปวดเมื่อย

มีหลายสาเหตุที่ทำให้เราตื่นกลางดึก แต่เหตุผลอันดับต้นๆ คืออาการปวดเมื่อย และหากเรานอนในท่าที่ไม่รองรับร่างกายอย่างเหมาะสม ก็จะสร้างแรงกดทับเพิ่มอีกทำให้เพิ่มความเจ็บปวดได้ การจัดระเบียบและพยุงร่างกายอย่างเหมาะสมจะทำให้เรานอนหลับสบายขึ้น และช่วยลดจำนวนครั้งที่คุณตื่นขึ้นในตอนกลางคืนได้

เราได้รวบรวมเคล็ดลับ 11 ข้อในการปรับท่านอนเพื่อให้รองรับสรีระร่างกายได้ดีขึ้นและลดความปวดเมื่อยในเวลากลางคืน ดังนี้

1.นอนตะแคง: แนะให้นอนบนหมอนที่สูงพอที่จะยกศีรษะให้อยู่สูงแนวเดียวกับคอและกระดูกสันหลัง และเพื่อลดแรงกดบนหัวไหล่ล่างอาจสอดหมอนไว้ใต้ลำตัวโดยเว้นพื้นที่สำหรับวางแขน

----------

2.นอนหงาย: อย่านอนบนหมอนที่สูงเกินไปเพื่อไม่ให้อยู่ในท่าก้มหน้า สอดหมอนใต้ข้อพับเข่าเพื่อให้หลังส่วนล่างอยู่ในท่าที่สบาย

----------

3.นอนคว่ำ: โดยทั่วไปไม่แนะนำให้นอนท่านี้เพราะอาจทำให้ปวดหลังได้ แต่บางครั้งอาจำเป็นสำหรับผู้ป่วยบางราย มีข้อแนะนำคือ ใช้หมอนบางรองใต้ศีรษะหรือไม่ใช้หมอนเลย, รองหมอนที่มีความสูงไม่มากไว้ใต้ท้องหรือกระดูกเชิงกราน, งอเข่าข้างหนึ่งไปด้านข้างแล้วสอดหมอนไว้ใต้หัวเข่า

----------

4.สำหรับคนที่มีอาการปวดหลัง: เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง ให้ทำตามข้อ 1 และ 2

----------

5.สำหรับคนชอบนอนบนเก้าอี้ปรับเอน: การนอนบนเก้าอี้ประเภทนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ เพราะจะช่วยกระจายแรงกดบนแผ่นหลัง ทำให้แผ่นหลังไม่รับภาระมาก เกิดความผ่อนคลาย 

----------

6. สำหรับคนที่มีปัญหาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท: ควรนอนตะแคงและงอตัว ให้เข่าเข้าหาหน้าอก สลับข้างเป็นครั้งคราวเพื่อป้องกันความไม่สมดุล การนอนท่านี้จะช่วยเปิดช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลัง

----------

7.สำหรับอาการปวดคอทั่วไป: ท่านอนที่ดีสำหรับคนปวดคอคือท่านอนตะแคง และนอนหงาย เพราะเป็นท่าที่คอและกระดูกสันหลังอยู่แนวเดียวกัน ให้ใช้หมอนที่มีความสูงที่พอดีและปฏิบัติตามข้อ 1 และ 2

----------

8.สำหรับอาการปวดสะโพกทั่วไป: ให้นอนตะแคงบนด้านที่ไม่ปวดและงอเข่า และฏิบัติตามคำแนะนำข้อ 1

----------

9.สำหรับอาการปวดเข่าทั่วไป: เพื่อบรรเทาอาการปวดเข่า ให้นอนตะแคงหรือหงาย ตามคำแนะนำในข้อ 1 และ 2 ให้เข่าอยู่ในท่าที่สบายและงอเล็กน้อย

----------

10.สำหรับอาการปวดไหล่ทั่วไป: เพื่อบรรเทาอาการปวดไหล่ ให้นอนหงายและใช้หมอนใบเล็กๆรองใต้ไหล่ข้างที่เจ็บ

----------

11.สำหรับคนที่มีอาการเสียดท้อง กรดไหลย้อน: เพื่อบรรเทาอาการไม่สบายจากอาการเสียดท้องหรือกรดไหลย้อน ควรนอนตะแคงซ้ายและยกหัวเตียงให้สูงขึ้น หรือนอนบนเก้าอี้ปรับเอนนอน หลีกเลี่ยงการเสริมหมอนสูงรองใต้ศีรษะ เพราะจะทำให้ลำตัวงอ ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น กรดไหลย้อนมากขึ้น

CR: dailycaring.com

--------------------

บทความที่คุณอาจสนใจ

เก้าอี้โยกและปรับเอนนอน ดีต่อคุณแม่และลูกน้อยอย่างไร?

เก้าอี้ปรับเอนนอนเพื่อดูแลผู้สูงอายุ

เก้าอี้ปรับเอนนอน ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง ?

เหตุผลดีๆที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรนั่งเก้าอี้โยกปรับเอน

4 ลักษณะเก้าอี้ เหมาะกับผู้สูงวัย

ประโยชน์ด้านสุขภาพของ เก้าอี้ปรับเอนนอน

บทความอื่นๆ >  คลิ้ก

  • แชร์